วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่16

วันพฤหัสบดีที่17 กุมภาพันธ์ 2554

อาจารย์สอนเกี่ยวกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย
มีการยกตัวอย่างบนกระดาน และมีการยกมือตบคำถามในชั้นเรียนด้วยค่ะ


บันทึกครั้งที่15

วันพฤหัสบดีที่10กุมภาพันธ์ 2554
วิเคราะห์สื่อเกมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ศึกษาผลงานของตนเองและของเพื่อนๆในห้อง








บันทึกครั้งที่14.

วันพฤหัสบดีที่3 กุมภาพันธ์ 2554.

วันนี้อาจารย์จินตนาสอนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง การจัดกิจกรรมศิลปะโดยการเชื่อมโยงกับคณิตศสาตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย....
อาจารย์มีรูปแบบการสอนเป็น Powerpoint นำเสนอภาพต่างๆให้นักศึกษาได้เห็นถึงการจัดกิจกรรมต่างๆอาทิเช่น
การนำอุปกรณ์ต่างๆมาปั้มให้เกิดเป็นรูปทรงเรขาคณิตและต่อเติมภาพ อุปกรณ์เช่น
-เหรียญ,หนังยาง,ฝาขวดน้ำดินสอ,ปากแก้ว,ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม
-ไม้บรรทัด,แปรงลบกระดาน,ยางลบ,ตราปั้ม ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม
-และรูปทรงอื่นๆ เช่นใบไม้,ดอกไม้,ไม้ไอศกรีม,ฝาจีบน้ำอัดลม,เชือก,หลอดฯลฯเป็นต้น
การสานคือการนำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวผืนผ้าในลักษณะที่เป็นยาวๆเท่าๆกันแล้วนำมาสานขึ้น-ลง
การพับ

บันทึกครั้งที่13.

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2554


ให้นักศึกษาแบ่งออกเป็น 6กลุ่ม กลุ่มละ4-5คน....
คิดหน่วยการเรียนรู้ ทำ Mind map
การใช้ขอบข่ายของกระบวนการทางคณิตศาตร์
เขียนแผนการจัดประสบการณ์ 4 วัน โดยสอดแทรกกระบวนการทางคณิตศาสตร์
เขียนแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรม

บันทึกครั้งที่12.

วันพฤหัสบดีที่20มกราคม2554.
เรื่องคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เช่น การนับวันที่ เวลาจากตอนเช้า เที่ยง เย็นขนาด เช่น เล็ก ใหญ่ กลาง กว้างรูปร่าง เช่น สูง เตี้ย อ้วน บ้างที่ตั้ง เช่น ก่อนจะถึงบ้านเราสามบ้านเป็นบ้านป้าค่าของเงินความเร็ว เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับสิ่งที่ทำ คือ ระยะทางกับเวลาอุณหถูมิ เช่น ร้อน เย็น หนาว อบอุ่นมาตรฐานการวัดในระบบเมตริก-

คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน- การวัดเครื่องเวลาหลัดสูตรการสอนต้องมีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
1. เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวมยอด
2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
3. แนะนำคำศัพท์ใหม่และสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
4. ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวมยอดมีทักษะทางคณิตศาสตร์ไปพร้อมกัน เช่น การทดลองที่เกิดจากการนับจำนวน จากกิจกรรม
7. เปิดโอกาศให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฎิบัติรู้จักการตัดสินใจด้วยตนเองหลักการทางคณิตศาสตร์ครูที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการธรรมชาติของเด็ก การเรียนรู้ของเด็กและขอบข่ายหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจ

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาศให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
3. มีเป้าหมายและการวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนการพัฒนาความคิดรวมยอดของเด็ก
5. ใช้การจดบันทึกพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประการณ์เดิมของเด็ก
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเช่นเพลงนกกระจิ๊บนั้นนกบินมาลิบลิบ นกกระจิ๊บ 1 2 3 4 5อีกฝูงบินล่องลอยมา 7 8 9 10

บันทึกครั้งที่11.

บันทึกครั้งที่ 11
วันที่ 15 ม.ค. พ.ศ. 2554

คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว การสอนคณิตศาสตร์ควรมีการบูรณาการกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

อาจารย์เปิด Power Point สอนเกี่ยวกับเพลงคำคล้องจอง ต่างๆ
-เพลงสวัสดียามเช้า
-เพลงสวัสดีคุณครู
-เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
-เพลงเข้าแถว
-เพลงจัดแถว
-เพลงซ้าย-ขวา
-เพลงกลองหนึ่ง-สอง
-เพลงกระรอกบอกข่าว

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาทุกคนสนใจเรื่องของเพลงที่จะนับไปบูรณาการกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก

บันทึกครั้งที่10.

วันที่ 6 ม.ค. พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
_คณิตตามหลักของเพียเจท์ มี 2 ทาง
1.ทางกายภาพ คือ จากประสาทสัมผัส ปฏสัมผัสสิ่งแวดล้อมโดยตรง
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เกิดขึ้นภายในจากการเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฏีโดยการลงมือกระทำที่เป็นผลสะท้อน (จะเกิดขึ้นขึ้นหลังเด็กลงมือกระทำกิจกรรม)โดยอาศัยความเชื่อมโยงจากข้อเท็จจริงที่เห็นไปสู่ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดต่อไป (เกิดสติปัญญา)

ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ต้องอาศัยการจัดกิจกรรมที่มีการวางแผน และต้องเตรียมการอย่างดีจากครูเพื่อให้โอกาสเด็กค้นคว้าแก้ไขปัญหา ได้เรียนรู้พัฒนาความคิดรวบยอด เกิดทักษะในความรู้ด้านคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

สาระ คือเนื้อหา สิ่งที่อยู่รอบตัว

จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ขอบข่ายคณิตศาสตร์
การนับ ,ตัวเลข, จัดลำดับ, รูปทรงและพื้นที่, การวัด

หลักการสอน
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน(สอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน) ให้เด็กมองเห็นความจำเป็น
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้"พบคำตอบด้วยตนเอง"
3.มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาทุกคนสนใจเรียนกันเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกัน

บันทึกครั้ง9.

*ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาคเรียน ปีการศึกษา 2553

บันทึกครั้งที่ 8

อาจารย์สอนเกี่ยวกับคำศัพท์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวเลข ที่ตั้ง อุณหภูมิ ขนาด รูปร่าง ความเร็ว (เวลา)

-คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
-การวัดเรื่องเกี่ยวกับเวลา
-ระบบเมตริก

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจและตั้งใจเรียนดีค่ะ

บันทึกครั้งที่ 6-7.

วันที่29 พฤศจิกายน 2553 - วันที่14.ธันวาคม2553
นักศึกษาชั้นปีที่3.ได้ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (Practicum 1) ของรายวิชาปฎิบัติการวิชาชีพ1.
เป็นเวลา 2 สัปดาห์หรือ(10วัน)

บันทึกครั้งที่5.

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2553

ไม่การเรียนการสอน
*เนื่องจาก อาจารย์ติดประชุมด่วน

บันทึกครั้งที่4

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2553

ออกไปศึกษาดูงานนิทรรศการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต



บันทึกครั้งที่3

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2553.
(นัดเรียนชดเชยจากการเรียนในวันปกติ)

อาจารย์อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทำBlog
1.การบันทึกองค์ความรู้ทุกครั้ง
2.การใส่Mind Mapลงในblog
3.การใส่รูปภาพเป็นSlide

เนื้อหารายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จะต้องคำนึงถึงพฒนาการซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงช่วงวัยต่อการเรียนรู้ของเด็ก ครูจะต้องมีวิธีหรือเทคนิคในการเรียนการสอน และการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อเด็กและยังเป็นการการะตุ้นให้เด็กเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้อย่างเพิ่มขึ้นด้วย

เกมการศึกษาทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง?
1.เกมจับคู่ภาพแบะจำนวนต่างๆ
2.การต่อภาพจิ๊กซอร์
3.โดมิโน
4.การต่อเติมรูปทรงต่างๆ

การสร้างสื่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์นั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง?
1.ความสะอาดและปลอดภัย
2.เหมาะสมกับช่วยวัย หรือใช้ได้กับหลายๆวัย
3.ส่งเสริมความคิดคำนวณ แยกแยะ และการคิดอย่างสร้างสรรค์
4.เป็นสื่อที่เด็กจะเกิดการแก้ปัญหาต่างๆด้วยตนเอง

บันทึกครั้งที่2.

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน 2553

ไม่มีการเรียนการสอน
*เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดประชุมด่วน

นับเลข